ตู้ลามินาร์ (Laminar Flow Clean Bench)
คือตู้ปลอดเชื้อที่มีการใช้แผ่นกรอง HEPA Filter (High Efficiency Particulate Air Filter) เพื่อกรองเชื้อโรค
สิ่งปนเปื้อน รวมทั้งฝุ่นละอองต่างๆ โดยมีจุดประสงค์หลักคือป้องกันผลิตภัณฑ์หรืองานที่ทำภายในพื้นที่ทำงานจาก
การเกิด Cross Contamination (Product Protection)
ประเภทของตู้ลามินาร์ (Laminar Flow Clean Bench)
สามารถแบ่งได้เป็น 2 ประเภทตามลักษณะของทิศทางการไหลของอากาศสะอาด (Clean Particulate-Air)
ภายในเครื่อง คือ
- Horizontal Laminar Flow Clean Bench (ตู้ลามินาร์ชนิดลมเป่าตามแนวนอน)
อากาศสะอาด (HEPA-Filtered Air) วิ่งผ่านออกมาจากแผ่นกรอง HEPA Filter ด้านหลังเครื่องผ่านพื้นที่ทำงานออกมา
ทางด้านหน้าเครื่องในทิศทางตามแนวนอน
- Vertical Laminar Flow Clean Bench (ตู้ลามินาร์ชนิดลมเป่าตามแนวดิ่ง)
อากาศสะอาด (HEPA-Filtered Air) วิ่งผ่านออกมาจากแผ่นกรอง HEPA Filter ด้านบนเครื่องเหนือพื้นที่ทำงานผ่าน
พื้นที่ทำงานออกมาทางด้านหน้าเครื่องใน ทิศทางตามแนวดิ่ง
Laminar Flow Clean Bench (ตู้ลามินาร์) ไม่ใช่ Biological Safety Cabinet (ตู้ไบโอฮาซาร์ด)
มีหลายๆท่านจากที่พบมักจะเข้าใจผิดกันในการเรียกเครื่องมือนี้สลับกัน เนื่องจากอุปกรณ์ห้องแลบสองเครื่องนี้
เป็น "ตู้ปลอดเชื้อ" เหมือนกันทั้งคู่ แต่วัตถุประสงค์การใช้งานนั้นจะแตกต่างกันโดยสิ้นเชิง จึงเป็นเรื่องจำเป็นของ
ผู้ใช้งานที่จะต้องเข้าใจถึงความแตกต่างเพื่อจะได้ เลือกใช้งานเครื่องทั้งสองชนิดให้เหมาะสมกับงานที่ต้องการ
- "ตู้ ลามินาร์" สามารถป้องกันได้เฉพาะตัวผลิตภัณฑ์หรืองานที่กำลังทำอยู่เท่านั้น (Product Protection Only)
ในขณะที่ "ตู้ไบโอฮาซาร์ด" (บางรุ่น) สามารถป้องกันได้ทั้งสามองค์ประกอบได้แก่ งาน, ผู้ปฏิบัติงาน และสิ่งแวดล้อม
(Product, Personnel and Environment Protection)
- "ตู้ ลามินาร์" ไม่สามารถนำมาใช้กับงานที่เกี่ยวข้องกับเชื้อโรคที่อันตราย (Biohazardous Material) เช่น เชื้อ Tuberculosis
และ Infectious Agents รวมทั้งสารเคมีที่อันตรายต่างๆ (Hazardous Chemicals) ได้ซึ่งงานเหล่านั้นจะเหมาะกับ "ตู้ไบโอ
ฮาซาร์ด" มากกว่า
- "ตู้ ไบโอฮาซาร์ด" มีตระแกรงช่องลม (Air Grill) ที่บริเวณด้านหน้าและหลังของพื้นที่ทำงาน ในการสร้างInflow เหมือน
กำแพงลมป้องกัน Flow ออกหน้าเครื่อง เพื่อส่งผลให้เกิดคุณสมบัติในการป้องกันผู้ปฏิบัติงานได้ (Personnel Protection)
ซึ่ง "ตู้ลามินาร์" จะไม่มีตระแกรงช่องลมนี้ใดๆทั้งสิ้น ซึ่งป้องกันเฉพาะตัวอย่างใน Work zone
- "ตู้ไบโอฮาซาร์ด" จะมีแผ่นกรอง HEPA Filter อย่างน้องสองตัว คือจะมี (Exhaust HEPA Filter) เพิ่มเติมขึ้นมาจาก
HEPA Filter ที่ใช้ป้องกัน Working zone ทำหน้าที่กรองอากาศก่อนที่จะปล่อยผ่านออกจากเครื่อง ทำหน้าสามารถ
ป้องกันสภาพแวดล้อมภายนอกได้ (Environment Protection) ในขณะที่ "ตู้ลามินาร์" จะมีแผ่นกรอง HEPA Filter
เพียงหนึ่งตัวเท่านั้น จึงไม่ได้ป้องกันสภาพแวดล้อมแต่อย่างใด
การใช้งาน Laminar Flow Clean Bench (ตู้ลามินาร์)
จุดประสงค์ของเครื่องคือการสร้างสภาวะอากาศปลอดเชื้อ (Clean Particle-Free Air) ภายในพื้นที่ทำงานของ
เครื่องและป้องกันโอกาสการเกิด Cross Contamination จากสิ่งปนเปื้อนจากสภาพแวดล้อมจากสถานที่ปฏิบัติงานงาน
โดยอากาศสกปรก (Contaminated Air) วิ่งผ่านแผ่นกรอง HEPA Filter ถูกกรองกลายเป็นอากาศสะอาด (Clean Particle-Free Air)
และถูกส่งผ่านมายังบริเวณพื้นที่ทำงานภายในเครื่อง โดยจะเคลื่อนที่ผ่านงานที่เราทำใน Working zone ภายในเครื่อง
และถูกพัดออกมาทางด้านหน้าของเครื่องในที่สุด
แต่เนื่องจากที่ได้กล่าวไว้เบื้องต้น เนื่องจากตู้ลามินาร์นั้น มีอยู่ 2 ประเภทด้วยกันในตลาดที่ขายเครื่องมือ ดังนั้น
จึงจำเป็นที่จะต้องเลือกให้เหมาะกับการใช้งานเช่นกัน
เช่นในกรณีที่เรานั้นมีการนั่งทำงานหน้าตู้ตลอดเวลา ซึ่งเราต้องการเพียงป้องกันการปนเปื้อนจากอากาศในพื้นที่
ทำงานเพื่อไม่ให้กระทบกับอุปกรณ์ในพื้นที่ทำงานภายในตู้ โดยถ้านำตู้แบบ Horizontal มาใช้งาน จากรูปเช่น การวาง
กล้องจุลทรรศน์ไว้ภายใน เนื่องจาก Flow ที่ผ่าน HEPA Filter นั้นจะออกมาในลักษณะขนานไปกับพื้น ทำให้ปะทะกับผู้ใช้งาน
โดยตรง ก็จะส่งผลกระทบกับสายตาในการทำงานได้ เป็นต้น ในกรณีนี้แบบ Vertical ก็จะเหมาะกว่า
หรือถ้าลักษณะงานที่ทำนั้นเน้นป้องกันความสะอาดของเนื้องานจากการสัมผัสกับการเตรียมตัวอย่างภายในตู้
ซึ่งต้องใช้บุคลากรในการเตรียมตัวอย่างและมีการสัมผัสกับชิ้นงาน ถ้าใช้ตู้แบบ Vertical ก็จะทำให้ฝุ่นที่ติดมากับผู้
ปฏิบัติงานปนเปื้อนไปกับชิ้นงานได้ ซึ่งในลักษณะนี้ตู้แบบ Horizontal ก็จะเหมาะกว่า
Images Source and References:
http://www.escoglobal.com
http://www.bioquell.com